post

พื้นอีพ็อกซี่ ประเภทต่างๆ

พื้นอีพ็อกซี่ คือ พื้นที่เกิดจากปฏิกิริยา ระหว่าง อีพ็อกซี่ เรซิ่น กัน โพลี่เอไมด์ เรซิ่น เกิดเป็นฟิล์มสี Epoxy ที่มีความแข็งแรงและทนทานต่อการใช้งานสูง พื้น Epoxy ทำความสะอาดง่ายจึงเมาะทำเป็นพื้นโรงงาน สีอีพ็อกซี่มีที่ใช้งานในตลาดมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท แต่ในบทความนี้จะขอนำเสนอประเภทพื้นอีพ็อกซี่สำหรับเคลือบพื้นเท่านั้น เมื่อเราเริ่มสนใจที่ทำการเคลือบพื้นโรงงาน พื้นโรงรถ พื้นอู่ซ่อมรถ พื้นห้องทดลองหรือพื้นห้อง Clean room สิ่งแรกที่คุณควรตั้งคำถามในใจก่อนคือ เราจะใช้อะไรเคลือบพื้นคอนกรีตดี เราอาจต้องเริ่มห้ข้อมูลประเภทของสีเคลือบพื้นว่าแต่ละประเภทมีข้อดีและข้อเสียต่างกันอย่างไร

ถ้าคุณคิดที่จะเลือกใช้พื้นอีพ็อกซี่แล้ว สี Epoxy มีหลายประเภท เช่น สีอีพ็อกซี่สูตรน้ำ (Water Based Epoxy) สีอีพ็อกซี่สูตรน้ำมัน (Solvent Based Epoxy) และ สีอีพ็อกซี่ 100% Solid Content สีเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ที่ได้รับการยอมรับและใช้กันจริงในอุตสาหกรมมเคลือบพื้นของเมืองไทยมีในรูปราคาต่อปริมาตร บางตัวราคาต่อน้ำหนัก แล้วเราจะรู้ได้อย่างไรว่าเราควรเลือกใช้ประเภทใด

การเลือกพื้นมาใช้งานและต้องมีการลงทุนกับการเคลือบพื้น เราจำเป็นที่ต้องมาเรียนรู้หรือทำความเข้าใจเบื้องต้นสำหรับพื้นอีพ็อกซี่ ว่าแต่ละประเภทมีอะไรบ้าง ก่อนที่คุณจะทำการตัดสินใจเลือกประเภทพื้นและจ้างช่างมาติดตั้งหรือเคลือบสีให้คุณ บทความนี้มีวัตถุประสงค์ให้ข้อมูลคุณเพิ่มเติมเพื่อช่วยคุณให้คุณตัดสินใจว่าควรจะเลือกสินค้าหรือผลิตภัณฑ์ พื้น Epoxy ตัวไหนที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานของคุณ เราขอย้ำว่าคุณควรทำความเข้าใจเรื่อง พื้น Epoxy ประเภทต่างๆ เพื่อให้เข้าใจว่าแต่ละตัวต่างกันอย่างไรก่อนการตัดสินใจเลือกใช้งาน

ประเภท พื้นอีพ็อกซี่ มาตรฐานพื้นโรงงาน

พื้นอีพ็อกซี่สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท โดยทำการแบ่งตามประเภทของตัวทำละลายเรซิ่นอีพ็อกซี่ ได้แก่

  1. สีอีพ็อกซี่สูตรน้ำมัน Solvent Based Epoxy Floor
  2. สีอีพ็อกซี่สูตรน้ำ Water Based Epoxy Floor
  3. สีอีพ็อกซี่สูตรไม่มีตัวทำละลาย Solvent-Free Epoxy Floor (100% Solid content Epoxy)

พื้นอีพ็อกซี่ สามารถแบ่งตามประเภทสารละลายเรซินอีพ็อกซี่นั้น Solventและน้ำจะถูกใช้มากที่สุด เนื่องจากตัวมันจะช่วยเพิ่มคุณสมบัติของพื้นอีพ็อกซี่ให้ดีขึ้น เช่น ช่วยเพิ่มการยึดเกาะ ช่วยเพิ่มหรือยืดเวลาในการใช้งาน “Pot Life” ซึ่งเมื่อคุณนำสารผสมกันระหว่าง Part-A ตัวเรซินอีพ็อกซี่ผสมกับ Part-B สารเร่งแข็งหรือ “Hardener” แล้ว ปฏิกิริยาการบ่มหรือการเร่งแข็งได้เริ่มขึ้นแล้ว คุณมีเวลาไม่นานนักก่อนที่สีจะเป็นเจลซึ่งจะไม่สามารถใช้งานได้แล้ว เวลาขึ้นกับอุณหภูมิและสูตรของแต่ละโรงงานผู้ผลิต คุุณต้องทำการทา กลิ้งหรือปาดให้เสร็จก่อนจะหมดเวลา “pot Lift) เป็นต้น

  1. สีอีพ็อกซี่สูตรน้ำมัน Solvent Based Epoxy Floor

พื้นอีพ็อกซี่ คือ สีเคลือบผิวคอนกรีตที่ใช้งานได้ง่ายที่สุดและมีการใช้งานมานานที่สุด สีอีพ็อกซี่สามารถเคลือบด้วยการกลิ้งด้วยลูกกลิ้งหรือการทาด้วยแปลง สี Epoxy ประเภทนี้มีแนวโน้มที่ใช้งานมากขึ้นสำหรับตลาดที่ต้องการทาสีพื้นเอง เพราะว่าสีมีอายุการใช้งานยาว “Pot Life” ประมาณ 2 ชั่วโมง ซึ่งเวลาที่ยาวนานเพียงพอที่จะทำให้เราทำใช้งานสีอีพ็อกซี่เสร็จโดยไม่ต้องรีบเร่งหรือใช้ความชำนาญสูงนัก สี Epoxy ทาเหล็ก ประเภทนี้มีข้อด้วยเรื่องกลิ่นฉุน เมื่อสีพื้นประเภทนี้ถูกเคลือบทาบนพื้นสารละลายเหล่านี้ก็จะระเหยออกไปเหลือไว้แต่เนื้ออีพ็อกซี่ นั่นเป็นสาเหตุว่าความหนาของฟิล์มสีเปียกมากกว่าฟิล์มสีแห้ง มันเกิดขึ้นเพราะตัวทำละลายไม่ได้เป็นเนื้อเดียวกันกับเรซินอีพ็อกซี่ โดยมากเปอร์เซนต์ของเรซิ่นอีพ็อกซี่จะถูกระบุไว้ใน “Product Data Sheet หรือ TDS) ว่ามีเท่าไหร่เช่น ถ้าสีอีพ็อกซี่ติดฉลากไว้ 50% Solid Cotent นั่นหมายถึงว่าเวลาทีเรานำสีไปทาแล้วหากความหน้าฟิล์มเปียก “Wet Film” หนา 700 ไมครอนแล้วหากสีแห้งลงจะได้ฟิล์มแห็ง “Dry Film” หนาประมาณ 300 – 350 ไมครอนเท่านั้น

ข้อดี สี Epoxy Coating ประเภท Solvent Based Epoxy ที่มีผู้ใช้งานชอบเลือกมาใช้งานด้วยเหตุผล ดังนี้

  1. มันสามารถใช้งานได้ดีในสภาวะอุณหภูมิต่ำ
  2. มันสามารถเคลือบบนพื้นที่ไม่สะอาดที่มีการปนเปื้นด้วยด้วยน้ำมันได้เล็กน้อย
  3. มันสามารถเคลือบบนพื้นที่มีความมันหรือเงาได้
  4. มีความทนทานดีเยี่ยม

แต่มันก็มีปัญหาเหมือนกัน เนื่องจาก Solvent มีค่า VOC’s (Volatile Organic Compound) เป็นองค์ประกอบมันจะถูกปล่อยออกมาเมื่อฟิล์มสีเริ่มกระบวนการแห้ง  และที่สำคัญเราไม่สามารถใช้งานได้ในพื้นที่อับ หรือที่ที่มีการไหลเวียนอากาศไม่ เพราะ Solvent จะระเหยออกมาจำวนมากจะเกิดเป็น Fume ที่มีกลิ่นเหม็น อันตรายและสามารถลุกติดไฟได้

เนื่องจาก VOC’s มีการห้ามใช้หรือกำหนดปริมาณสูงสุดที่มีได้ ในบางประเทศห้ามให้ใช้งานหรือถ้าใช้ได้ต้องลดปริมาณลง แต่ไม่เป็นผลเพราะว่าไม่มีสารละลายตัวอื่นละลายตัวอื่นละลายเรซินอีพ็อกซี่ได้ ดังนั้นจึงเป็นเรื่องยากที่จะนำมาใช้ แต่สำหรับประเทศไทยเรา ยังไม่มีกฎหมายตัวนี้มาบังคับการใช้งาน เรายังสามารถใช้งานได้ ดังนั้นบางประเทศไดทำการพัฒนาตัว Water Based Epoxy ขึ้นมาใช้งานแทน

2. สีอีพ็อกซี่สูตรน้ำ Water Based Epoxy Floor

สีอีพ็อกซี่สูตรน้ำ Water Bsed Epoxy ถูกพัฒนาขึ้นมาทดแทนการใช้งานตัว Solvent เนื่องจากเรื่อง VOC’s Content, การเกิด Fume เมื่อใช้งาน กลื่นเหม็นและการรักษาสิ่งแวดล้อม พื้นอีพ็อกซี่ สูตรน้ำบางสูตรมีความทนทานมากกว่าเดิมมาก มีการพัฒนาความสามารถในการเคลือบบนพื้นคอนกรีตที่มีอายุประมาณ 1 อาทิตย์ได้ด้วย และที่สำคัญที่สุด มันสามารถใช้งานเป็นตัวกันความชื้น “Moisture Barrier” เพื่อป้องกันการเกิด hudroststic pressure transmission ได้ นั่นเราจึงได้พบว่าทำไมจึงมีสูตรสี Epoxy Primer ทีเป็นสูตรน้ำออกมาเป็นจำนวนมาก

3. สีอีพ็อกซี่สูตรไม่มีตัวทำละลาย Solvent-Free Epoxy (100% solid content Epoxy)

สี Epoxy แบบ Solvent-Free หรือ 100% Solid Content ไม่ไช่ทั้ง Solvent หรือ Water Based ด้วยเหตุนี้พื้นประเภทนี้จึงสามารถทำความหนาฟิล์มสีได้มากกว่า เพราะไม่มีส่วนไหลระเหยออกไปจากฟิล์มสีเลย แต่เนื้อสีจะกลายเป็นฟิล์มสีทั้งหมด ดังนั้นมันจึงสามารถทำความหนาได้สูง ซึ่งบางผู้ผลิตสีสามารถทได้ประมาณ 10 มิลลิเมตรเลนที่เดียว และทีสำคัญมันไม่มีการปล่อยสาร VOC’s ออกสู่สิ่งแวดล้อม

พื้นอีพ็กซี่ประเภทนี้ถูกนำไปทำพื้นโรงงานอุตสาหกรรมเป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากมันมีคุณสมบัติเด่นเรื่อง การทนทานต่อการขัดถู ทนทานต่อสารเคมีและกรด-ด่งได้ดีกว่า water based ซึ่งเมื่อดูเรื่องการใช้งานในรูปแบบหลายๆแบบแล้วพบว่า Solvent-Free มีความทนทานต่อการใช้งานสูงสุดเมื่อเทียบกันกับSolvent และ Water Based Epoxy

แต่พื้นประเภทนี้ก็มีข้อด้อยเหมือนกัน คือมันทำการติดตั้งยาก การความคุมความหนาทำได้ลำบากจะให้เท่ากันทั้งหมด และที่สุดคือ มันมี Pot lift สั้น คือประมาณ 30-40 นาที เท่านั้น ซึ่งขึ้นกับอุณภูมิห้องขณพะทำงานด้วย ดังนั้นการเคลือบสีพื้นอีพ็อกซี่ประเภทนี้ต้องอาศัยช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น จึงจะทำการเคลือบสีนี้ได้ การติดตั้งก็ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนหรือวิธีการที่บริษัทผู้ผู้ผลิตแนะนำมาอย่างเคร่งคัด จึงจะไดพื้นที่มีคุณภาพ

การพิจารณาการเลือกใช้ พื้นอีพ็อกซี่ ให้เหมาะสมการใช้งาน

เมื่อพิจารณาเรื่องราแล้วพบว่า Solvent-Free มีราคาแพงกว่าตัวอื่น แต่เมื่อเปรียบเทียบความหนาที่ได้และความทนทานต่อการใช้งานที่เพิ่มขึ้น จะพบว่ามันคุ้มค่ากับการลงทุน เราพบว่า พื้นอีพ็อกซี่แบบ Solvent ทำการเคลือบพื้นได้เพียงรอบเดียวและามารถทำความหนาได้ 300 ไมครอน ส่วน water based สามารถเคลือบได้หลายรอบแต่ก็ไม่สามารถทำความหนาได้เท่าตัว Solvent-Free, 100% solid content

ที่สำคัญที่สุด เมื่อเราทำการเปรียบเทียบคุณสมบัติของพื้นอีพ็อกซี่ต้องแน่ใจว่าเราได้อ่านตัว Product Data Sheet หรือ TDS ของมัน ซึ่งเารขอกับทางผู้ติดตั้ง ผู้ผลิตหรือโหลดเองทางอินเทอเน็ตได้  เนื้อหาในเอกสารดังกล่าวจะบอกถึงองค์ประกอบ คุณสมบัติ การใช้งาน และการดูแลรักษาไว้ครบ ดังนั้นแล้วให้คุณผู้อ่านได้อ่านและเปรียบเทียบกัน แล้วท่านค่อยทำการตัดสินใจเลือกประเภท พื้นอีพ็อกซี่

กรุณาหาความรู้ ทำการศึกกษาข้อแตกต่างของพื้นอีพ็อกซี่แต่ละประเภทให้มากที่สุดเท่าที่มีเวลาทำได้ หากคุณต้องการจ้างหรือทำพื้นเอง พิจารณาให้แน่ใจว่าพื้นแบบไหนเหมาะสมกับความต้องการการใช้งานของคุณมากที่สุด เพื่อให้คุ้มค่ากับการลงทุน
พื้น อีพ็อกซี่

ติดต่อสอบถามเพิ่มเติม

บริษัท วีไอซี โคทติ้งส์ จำกัด บริการให้คำปรึกษา จำหน่ายและบริการเคลือบพื้นอีพ็อกซี่ พื้นพียู พื้นสนามกีฬา พื้นหลังคากันซึม พื้นขัดเงา สีพื้น สีอีพ็อกซี่ สีพียู เรามีบริการสำรวจหน้างานให้ท่าน ฟรี เรามีทีมงานบริการหลังการขายแก่ท่านมากกว่า ท่านสามารถติดต่อมาที่ฝ่าย Technical Support ของ VIC เรามีทีมงานด้านบริการเทคนิคแก่ท่านโดยไม่คิดค่าใช้จ่ายครับ

Hot line: 086-5154601

Mobile: 061-9262926

Technical Support: 062-159 3979

Line ID: vic5979

M: info@vic-coatings.com

M: m.me/viccoatings

www.vic-coatings.com

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <strike> <strong>